องค์กรต่างๆ เหล่านี้ Google,Pfizer, Merck, Bank of America, the InterContinental Hotels Group และ Shell (อ้างอิงจาก บทความของ New York time) ใช้โปรแกรม R เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลของตัวเองกันทั้งนั้น แม้แต่ Google ,twitter, หรือ facebook ก็ใช้โปรแกรม R ด้วย เหลือเชื่อไหมครับ ลองไปอ่านบทความของ New York Times ตาม Link ที่ผมทำไว้ได้ครับ แต่สิ่งที่น่าเหลือเชื่อกว่าคือ ซอฟท์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลอันดับต้น ๆ ของโลกคือ SAS , SPSS และอื่นๆ กำลังขมักเขม้นเรียนรู้แนวทางของ R อยู่ ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ซอฟท์แวร์เหล่านี้มี ฟีจเจอร์ส่วนที่ติดต่อกับโปรแกรม R ได้แล้วครับ
ตัวผมเองมีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรโปรแกรม open source ทางสถิติ ให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ มาหลายปี และหลังจากที่ได้รู้จัก R ในแบบเจาะลึกขึ้น ยิ่งศึกษาก็ยิ่งหลงใหล และคิดในใจว่าทำไมเราถึงพึ่งจะรู้จักโปรแกรมสุดยอดนี้ จึงอยากให้ภาคราชการ ,ธุรกิจ ,SME และหน่วยงานการศึกษาต่างๆ เปิดใจให้เห็นแนวทางของโปรแกรม R เพราะหลายองค์กรชั้นนำของโลกเปลี่ยนมาใช้ R เนื่องจากความสามารถที่มากมาย จนมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นหลายล้านคนทั่วโลก (และเนื่องจาก R เป็น Open source เราทุกคนจึงมีสิทธิและเสรีภาพในการใช้ได้ฟรีครับ) ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะก้าวตามเพื่อเพิ่มความรู้และศักยภาพของคุณหรือหยุดนิ่งและยึดกรอบเดิมๆ R you Ready to learn R?
และผมจะเป็นที่ปรึกษาให้คุณได้เรียนรู้ R อย่างมืออาชีพครับ
ตัวผมเองมีประสบการณ์ในการเป็นวิทยากรโปรแกรม open source ทางสถิติ ให้กับสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ มาหลายปี และหลังจากที่ได้รู้จัก R ในแบบเจาะลึกขึ้น ยิ่งศึกษาก็ยิ่งหลงใหล และคิดในใจว่าทำไมเราถึงพึ่งจะรู้จักโปรแกรมสุดยอดนี้ จึงอยากให้ภาคราชการ ,ธุรกิจ ,SME และหน่วยงานการศึกษาต่างๆ เปิดใจให้เห็นแนวทางของโปรแกรม R เพราะหลายองค์กรชั้นนำของโลกเปลี่ยนมาใช้ R เนื่องจากความสามารถที่มากมาย จนมีผู้ใช้เพิ่มขึ้นหลายล้านคนทั่วโลก (และเนื่องจาก R เป็น Open source เราทุกคนจึงมีสิทธิและเสรีภาพในการใช้ได้ฟรีครับ) ขึ้นอยู่กับคุณว่าจะก้าวตามเพื่อเพิ่มความรู้และศักยภาพของคุณหรือหยุดนิ่งและยึดกรอบเดิมๆ R you Ready to learn R?
และผมจะเป็นที่ปรึกษาให้คุณได้เรียนรู้ R อย่างมืออาชีพครับ
ที่มา : http://bits.blogs.nytimes.com/2009/01/08/r-you-ready-for-r/
เกี่ยวกับเจ้าของ Blog
นายอมรเทพ ทองชิว
B.Eng Mechanical , M.Sc Applied Management (Honor)
ความชำนาญและความสนใจพิเศษ
• การพัฒนาระบบงานสำนักงานด้วย Google Application และ Open Source
• การใช้โปรแกรม OpenStat ในการวิเคราะห์ข้อมูลและการวิจัย
• การใช้โปรแกรม R (Command-line) ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ไปจนถึงขั้นสูง
• การใช้โปรแกรม R commander (คือ R ในเวอร์ชั่น GUI ที่ใช้ได้ง่าย)
• การใช้โปรแกรม R ในงานเหมืองข้อมูล (ใช้โปรแกรม Rattle,Weka)
• ปัจจุบันกำลังศึกษาสถิติขั้นสูงด้วยโปรแกรม R และ Data mining
ประสบการณ์ในการให้คำปรึกษา วางแผน และฝึกอบรมโปรแกรมทางสถิติ
- ที่ปรึกษาการใช้งานโปรแกรมโอเพ่นซอส ทางสถิติให้กับสถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการและเอกชน
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม OpenStat สําหรับงานวิจัย” (www.Opensource2Days.com) 4 รุ่น
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม OpenStat สําหรับงานวิจัย” คณะเภสัช ม.ศิลปากร ปี 2552
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม OpenStat สําหรับงานวิจัย” คณะบริหารธุรกิจ มร.ลำปาง ปี 2553
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม OpenStat สําหรับงานวิจัย” คณะวิทยาศาสตร์ ม.ทักษิณ (พัทลุง) ปี 2554
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม OpenStat สำหรับงานวิจัย” กรมวิชาการเกษตร ปี 2554 (5 รุ่น)
- วิทยากรหัวข้อ “การทำเหมือข้อมูลด้วย WEKA” สำนักฝึกอบรม ม.เทคโนโลยีมหานคร ปี 2554-ปัจจุบัน
- วิทยากรหัวข้อ “การทำเหมือข้อมูลด้วย WEKA” กรมวิชาการเกษตร ปี 2555
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม R สําหรับงานวิจัย” IHPP กระทรวงสาธารณสุข ปี 2553
- วิทยากรหัวข้อ “การใช้โปรแกรม R สําหรับงานวิจัย” กรมวิชาการเกษตร ปี 2555
- วิทยากร โปรแกรม Open source ทางด้านสถิติ และดาต้าไมนิ่ง ณ ศูนย์อบรม Reinforcebi (ปี 2554-ปัจจุบัน)
- นักเขียนด้านโปรแกรมสถิติของนิตยสาร โอเพ่นซอสทูเดย์ (Opensource2Days) (ปี 2552-ปัจจุบัน)
ประสบการณ์ในการทำงาน
- ที่ปรึกษาการพัฒนาระบบ และการวิจัยในหน่วยงานรัฐ เอกชนหลายแห่ง (ปัจจุบัน)
พัฒนาระบบสำนักงาน และการตลาด
ใช้การพยากรณ์ทางสถิติในการวางแผนและควบคุมการผลิต
- วิศวกรฝ่ายผลิต (พ.ศ. 2545-2546)
เป็นวิศวกรฝ่ายผลิตและตรวจสอบคุณภาพ ในส่วนงานผลิตขวดน้ำมันพืชขนาดต่างๆ
- วิศวกรแผนกติดตั้ง (พ.ศ. 2544-2545)
- วิศวกรฝ่ายซ่อมบำรุง (พ.ศ. 2542-2544)
ทำโครงการลดต้นทุน ด้วยการปรับปรุงประสิทธิเครื่องจักรในการผลิต
การศึกษา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (พ.ศ.2539-2542)
• วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (พ.ศ.2547-2548)
• วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการประยุกต์ (เกียรตินิยม)
• ได้รับรางวัลเรียนดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ประจำปี 2548