การทำเหมืองข้อมูลแบบกฎเชื่อมโยง คือ การหารูปแบบที่เกิดบ่อย (frequent pattern) ความเชื่อมโยงที่เกิดขึ้น (association) หรือสหสัมพันธ์ (correlation) ของกลุ่ม item จากข้อมูลที่อยู่ในรูป transaction
การวิเคราะห์ตะกร้าการซื้อ (Market basket analysis) การทำตลาดข้ามสายผลิตภัณฑ์ (cross-marketing) การวางรูปแบบและออกแบบ catalog การทำรายการส่งเสริมการขาย การวางแผนผังภายในร้าน เป็นต้น
คำถามของนักการตลาดในเรื่อง Association Rule.
- ผู้ซื้อปฏิเสธหรือยอมรับการพยายามขายสินค้าต่างลักษณะหรือไม่?
- สินค้าใดที่ปรากฎร่วมกันบ่อยในหนึ่งใบเสร็จ?
- สินค้าใดที่ปรากฎร่วมกันบ่อยในกลุ่มสินค้าที่กำหนด?
- อะไรคือสินค้าที่พบว่าถูกขายบ่อยให้กับลูกค้าที่มารับบริการซ้ำๆ ?
- ลักษณะการขายของสินค้ามีการเปลี่ยนไปตามเวลาหรือไม่?
- ลักษณะการขายของสินค้ามีการเปลี่ยนไปตามที่อยู่ของลูกค้าหรือไม่ อย่างไร?
สรุป Associate rule
- Associate rule คือจุดเริ่มต้นการเกิดขึ้นของ data mining algorithm!
- ปรากฎในหมู่ของนักวิจัย KDD และมีการนำเสนองานส่วนนี้จำนวนมากที่สุด
- มีประโยชน์ในการหาความเชื่อมโยง บอกพฤติกรรมที่มีค่า ในฐานข้อมูลลูกค้าขนาดใหญ่
- ปกติใช้กับฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ที่บันทึกเป็น Transaction โดยที่แต่ละระเบียนคือการซื้อสินค้าในหนึ่งครั้ง
- ผลลัพธ์ที่ได้คือกฎ กฎแสดงความสัมพันธ์ของการซื้อสินค้าต่างชนิดกันโดยไม่ขึ้นกับลูกค้าคนใดคนหนึ่ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น